วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

คู่มือเตรียมสอบ

ผลงานลูกค้า

เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetchula เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน







3
1


4

5
6
7
8




บริการต่างๅ

บริการต่างๆ

บริการต่างๆ


ติดตาม Facebook

ติดตาม Facebook

Youtube

แนวข้อสอบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สกย




รายละเอียดวิชาที่สอบ #
แนวข้อสอบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สกย
1ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา
2 ความสามารถด้านเหตุผล แนวข้อสอบ
3 ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ แนวข้อสอบ
4 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
5 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการเกษตร
6 แนวข้อสอบเรื่องยางพารา
7 พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2503

+++ อ่านประกาศเพิ่มเติม และลิ้งค์สมัครที่ http://www.งานราชการไทย.com/
+++ กดติดตามรับข้อสอบที่ : http://line.me/ti/p/%40awr8388d
+++ กดถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สกย
ที่ https://www.facebook.com/651028135052847


แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ

ความรู้ทั่วไป

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (Office of the Rubber Replanting Aid Fund) หรือ สกย. (ORRAF) เป็นอดีตรัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหากำไร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ปรับปรุง พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2530)[2] เพื่อดำเนินกิจการให้การสงเคราะห์การทำสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรรงบประมาณสร้างโรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้ สกย. จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี ให้ นอกจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จัดตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และราคาที่เป็นธรรม
วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 หน่วยงานนี้ได้ยุบรวมกับ องค์การสวนยาง และ สถาบันวิจัยยาง เป็น การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ตาม พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558[3]

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

  1. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นทดแทนยางเก่า และส่งเสริมให้เกษตรกร ที่ไม่มียางมาก่อน ได้ปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดี โดยให้ทุนสงเคราะห์รวมทั้งคำแนะนำทางวิชาการ เพื่อให้มีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น
  2. พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีเหมาะสม
  3. พัฒนาระบบ และกลไกตลาด ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ได้รับ ความเป็นธรรม ในด้านราคา
  4. จัดตั้ง และ พัฒนาองค์เกษตรกรชาวสวนยาง ให้เข้มแข็ง มีศักยภาพ ในการพัฒนา และอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น

แหล่งรายได้

เงินทุนที่นำมาใช้ในการดำเนินงานของ สกย. ได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
  1. เงินสงเคราะห์ (CESS) เก็บจากผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร ในอัตราที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยการอนุมัติของ คณะรัฐมนตรี ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรากิโลกรัมละ 5 บาท เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้แต่ละปีไม่เกินร้อยละ 5 ให้กรมวิชาการเกษตร นำไปค้นคว้าวิจัยงานยาง ไม่เกินร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของ สกย. และ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ส่งคืนกลับสู่เกษตรกรที่ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ในรูป ของ การช่วยเหลือ ทางด้านวิชาการ และปัจจัยการผลิต เงินสงเคราะห์นี้จะจ่ายเพื่อการอื่นไม่ได้
  2. เงินงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
    1. เงินสมทบ เพื่อการสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายปี ภายใต้แผนวิสาหกิจ สกย.
    2. เงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์

การแบ่งส่วนบริหารองค์กร

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร แบ่งการบริหารงานออกเป็น 12 ฝ่าย และมีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด 46 แห่ง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ 56 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัด 12 แห่ง และศูนย์เรียนรู้ยางพารา 4 แห่ง[4] ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา ครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สกย.
การเตรียมตัวสอบ
ในการสอบเข้าเป็นพนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ไม่ต้องใช้ใบผ่าน กพ.
ผู้เข้าสอบควรเตรียมตัวมาอย่างดี  อ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ และควรอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์  และควรจัดตารางในการอ่านหนังสือ เพื่อทบทวน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ
การสอบเข้าสกย.  จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
เนื้อหาความรู้ที่ออกสอบของสกย. ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   พระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503  วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตรา คณิต ไทย ก็ซื้อแบบหลักภาษาไทยมาอ่าน หลายๆ เจ้า คณิตทั่วไปก็จำสูตรให้ได้ เช่น การจับมือ แลกของขวัญ ความน่าจะเป็น กฎ สูตร จำให้แม่น แล้วฝึกทดสอบบ่อยๆ อย่างคณิตข้อ 1 ก็ลองทำสัก 2-3 รอบ ไทยแล้วฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ รับรองผ่าน
การสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง  ผู้เข้าสอบควรมีความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพที่ตนเองนั้นมาสมัครสอบ  ส่วนข้อสอบ จะออกตรงตามที่ประกาศสอบ  ควรอ่านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวิชาเฉพาะตำแหน่ง  เพราะในข้อสอบจะมีวิชากฎหมายด้วย ผู้เข้าสอบต้องอ่านหนังสือมาให้มากๆรับรองทำข้อสอบได้แน่นอน
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด  คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ  เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้   วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี  กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ

วิชาที่ใช้สอบ   มีดังนี้คือ
1. ความสามารถทั่วไป  (100  คะแนน)  
2. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )
3. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง

รายละเอียดวิชาที่สอบ
พนักงานด้านการเกษตร
1ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา
2 ความสามารถด้านเหตุผล แนวข้อสอบ
3 ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ แนวข้อสอบ
4 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
5 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการเกษตร
6 แนวข้อสอบเรื่องยางพารา
7 พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2503

ตำแหน่งที่สอบ
นักวิทยาศาสตร์
เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักวิชาการเงินและบัญชี
นักวิชาการพัสดุ
นิติกร
บุคลากร
พนักงานธุรการ